ว่ากันว่าไข้ออกผื่นนั้นมีทั้งชนิดธรรมดาและไม่ธรรมดา
เอ
ทั้งสองแบบแตกต่างกันอย่างไร แล้วถ้าลูกมีอาการคล้ายๆ อย่างนี้ขึ้นมาสักครั้ง
เราจะรู้และดูแลอย่างถูกต้องได้อย่างไร ก็แหม
มีทั้งไข้ทั้งผื่นเลยนี่นา
เมื่อผื่นมาหลังไข้ลด
คุณแม่ผู้หนึ่งพาลูกสาวอายุ 10 เดือน มาปรึกษาด้วยปัญหามีผื่นขึ้นหลังจากมีไข้สูงเมื่อ 3 วันก่อน
ลูกมีไข้สูงมากจนกลัวลูกจะชัก เนื่องจากเคยได้ยินจากเพื่อนบอกว่าอย่าปล่อยให้ลูกเป็นไข้สูง
จะทำให้ชักและอาจทำให้ลูกเอ๋อไปเลย คุณแม่ก็รีบพาลูกไปพบแพทย์ แพทย์วัดไข้พบว่าไข้สูงมาก
และมีคอแดงเล็กน้อย สาเหตุของไข้น่าจะเกิดจากเชื้อไวรัส คุณหมอได้จัดยาลดไข้มาให้กินเป็นยาข้นๆ สีส้ม
คุณหมอที่ตรวจบอกว่าจะทำให้ไข้ลดเร็ว
ไข้ออกผื่นแบบไหน.. "ไม่ธรรมดา"
นอกจากผื่นแพ้ยาที่บรรดาหมอๆ ทั้งหลายกลัวและไม่อยากจะเจอะเจอแล้ว
ก็ยังมีไข้ออกผื่นอีกหลายอย่างที่ไม่ธรรมดาซึ่งจริงๆ แล้วแยกกันไม่ยากค่ะ
ขอย้ำอีกครั้งว่าถ้าเป็นไข้ออกผื่นธรรมดาก็เป็นไข้ไม่มีอาการรุนแรงอื่นๆ ร่วมด้วย
อาการไข้จะมีอยู่ 3-4 วัน ก็หายไปเอง ผื่นก็เป็นผื่นแดงเล็กๆ บางคนผื่นบางแห่งรวมเป็นกระจุกเล็กๆ ไม่คัน
แต่ถ้าเป็นไข้ออกผื่นไม่ธรรมดาก็จะมีอาการอื่นๆ นอกจากไข้ โดยไข้อาจสูงหรือต่ำก็ได้
จำนวนวันที่มีไข้มักจะมากกว่า 3-4 วัน ผื่นอาจมีพร้อมไข้ตั้งแต่วันแรกหรือหลังจากมีไข้หลายวัน
ขณะที่มีผื่นขึ้นก็ยังคงมีไข้อยู่ ในรายที่แพ้ยามักจะเป็นผื่นแดงหนาและมีอาการคันร่วมด้วย
ลักษณะผื่นที่ไม่ธรรมดาอื่นๆ ได้แก่
บางโรคจะมีอาการไอมาก เจ็บคอ ตาแดง ตาแฉะ กลัวแสงต้องคอยหลับตาไม่สู้แสง คอบวม
ต่อมน้ำเหลืองข้างคอบวม ตับม้ามโต ริมฝีปากแดงจัด ลิ้นแดงเป็นฝ้าขาวเหมือนลูกสตอรว์เบอร์รี
หรือเป็นแผลในปาก
กินยาอยู่ 2 วันพร้อมทั้งเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นแต่ไข้ก็ยังไม่ลด เมื่อวานก็ได้พาลูกไปตรวจซ้ำ
แพทย์ได้ให้ยาแก้อักเสบผสมน้ำให้กินเพิ่ม วันนี้ไข้ลดลง แต่พบว่าลูกมีผื่นขึ้นเต็มตัว
ลูกสาวก็ดูสบายดีเล่นได้ คุณแม่กังวลว่าลูกจะแพ้ยาแก้อักเสบ และจะต้องทำอย่างไรต่อไป
ต้องเปลี่ยนยาแก้อักเสบเป็นตัวอื่นหรือไม่ ถ้าหยุดยาแก้อักเสบแล้วลูกจะมีไข้กลับมาอีกหรือไม่
คุณแม่ที่เคยมีประสบการณ์มาก่อนกับปัญหานี้คงจะถึงบางอ้อและก็จะตอบได้ว่า
สาเหตุของผื่นในเด็กคนนี้น่าจะเป็น
ไข้ออกผื่นที่เรียกว่า หัดดอกกุหลาบ
ไข้ออกผื่นเกิดจากอะไร ใครนะเป็นบ่อย
สาเหตุของไข้ออกผื่นเกิดจากเชื้อไวรัส พบบ่อยในเด็กเล็กๆ อายุต่ำกว่า 2 ปี
โดยเฉพาะเด็กที่อายุระหว่าง 8 เดือนถึงหนึ่งขวบมักพบมากที่สุด เพราะเป็นวัยที่ภูมิคุ้มกันยังไม่ดีนัก
ไข้ออกผื่นที่พบบ่อยที่สุดก็เป็นไข้ออกผื่นที่มีอาการแบบเดียวกับเด็กในรายที่เล่าให้ฟังข้างต้นคือจะมีไข้สูง 3 วัน
กินยาลดไข้ก็จะไม่ค่อยลด พอวันที่ 4 ไข้ก็จะลดลงทันทีพร้อมทั้งมีผื่นเป็นจุดแดงๆ ทั่วทั้งตัว
ในระยะที่มีไข้สูงเด็กบางรายก็อาจจะมีอาการซึม อาเจียน กระหม่อมตรงกลางศีรษะโป่งตึง
หรือชัก โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติครอบครัว พ่อแม่ พี่น้องหรือญาติมีอาการชักเวลามีไข้สูง
ยังมีไวรัสอีกหลายตัวที่ทำให้เกิดผื่นแบบเดียวกันได้ ไวรัสเหล่านั้นจะทำให้มีไข้ต่ำๆ
มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ถ่ายเหลว ต่อมาก็มีผื่นตามตัว พวกนี้เราก็เรียกรวมๆ กันว่าเป็น
ส่าไข้ ได้เช่นเดียวกัน
วิธีสังเกตรู้และดูแล
ปกติในระยะที่มีไข้สูง จะไม่สามารถบอกได้ว่าลูกจะเป็นไข้ออกผื่น
แพทย์ที่มีประสบการณ์สูงมักจะสามารถทำนายได้ว่าเด็กอาจมีปัญหาไข้ออกผื่น
ขอให้สังเกตว่า หมอจะใช้คำว่า "ทำนาย" และ "อาจจะ" หมายความว่า คาดเดา
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสจะระบาดเป็นช่วงเวลาและในกลุ่มอายุใกล้เคียงกัน
โดยเฉพาะฤดูหนาวและจะมีเด็กเป็นพร้อมๆ กันหลายราย แพทย์ที่ตรวจเด็กจะทราบทันทีว่า
ระยะนั้นๆ มีโรคอะไรระบาดอยู่บ้าง
เมื่อตรวจร่างกายโดยละเอียดแล้ว หากแพทย์สงสัยว่าจะเป็นไข้ออกผื่น
ก็จะบอกให้คุณแม่ดูแลเด็กโดยให้กินยาลดไข้เพียงอย่างเดียว ทุก 4 ชั่วโมง
และให้เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่น ค่อยๆ ให้ไข้ลดลงช้าๆ อย่าใช้น้ำเย็นเพราะจะทำให้เด็กมีไข้หนาวสั่น
ทำให้ไข้กลับสูงมากขึ้นและให้สังเกตว่าถ้าไข้ครบ 3 วันแล้ว วันที่ 4 ไข้จะลดลงพร้อมกับเห็นผื่นขึ้นตามตัวและหน้า
ผื่นเป็นเม็ดแดงๆ กระจายทั่วๆ ไป อีกประมาณ 2-3 วัน ผื่นก็จะลดลงไปเอง ไม่ต้องกังวล ไข้ออกผื่นนี้ไม่อันตราย
ไข้ออกผื่น
แบบไหนน่ากลัว V.S. ไม่น่ากลัว
ยังมีโรคที่ทำให้มีไข้และมีผื่นขึ้นตามตัวอีกหลายชนิดที่รุนแรงเช่น ผื่นแพ้ยา ไข้ออกหัด
ไข้เลือดออก ไข้ดำแดง ไข้และผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อผิวหนังพุพอง
เด็กส่วนใหญ่มักจะไม่มีปัญหาจากไข้ออกหัด เพราะโรคนี้ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน
ซึ่งจะได้รับตอนอายุ 9-12 เดือน เด็กคนไหนที่ยังไม่ได้ฉีดหรือคุณแม่ลืมพาไปฉีด
ในช่วงอายุดังกล่าวก็รีบพาไปฉีดเสียนะคะ ส่วนไข้อื่นๆ ที่กล่าวมามักจะมีความผิดปกติให้ตรวจพบ
และวินิจฉัยได้ไม่ยากโดยกุมารแพทย์ทั่วๆ ไป
สำหรับไข้เลือดออกจะมีไข้มากกว่า 4 วัน เด็กจะซึม อาเจียนและกินอาหารไม่ได้
ดังนั้นถ้าไข้เกิน 3 วันก็ควรพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอื่นๆ ถ้าเป็นช่วงฤดูฝน
และมีการประกาศว่าไข้เลือดออกกำลังระบาดยิ่งต้องระวังมากขึ้น
ผื่นแพ้ยาเป็นปัญหาที่หมอกังวลที่สุดค่ะ นั่นเพราะว่าการแพ้ยามีตั้งแต่อาการน้อย
มีผื่นคันไม่กี่วัน เมื่อหยุดให้ยาที่แพ้ ผื่นจะค่อยๆ หายไป ไปจนกระทั่งถึงผื่นแพ้ยาที่รุนแรง
จนถึงกับทำให้เสียชีวิตได้
ลักษณะผื่นมีได้หลายรูปแบบ มีทั้งลักษณะเฉพาะที่บอกได้ทันทีว่าเป็นผื่นแพ้ยา
และลักษณะเหมือนไข้ออกผื่นธรรมดา หากดูโดยลำพังลักษณะผื่นเองจะแยกไม่ได้จากไข้ออกผื่น
ในเด็กรายที่มาปรึกษาแพทย์ ถ้าสงสัยว่าแพ้ยาต้องหยุดยาทันที
เนื่องจากไข้ออกผื่นที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสเองก็ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะค่ะ
ทำอย่างไรดีถ้าลูกมี "ไข้ออกผื่น"
สำหรับลูกอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 8-12 เดือน ในช่วงฤดูหนาว หากมีแต่ไข้สูง
ไม่มีอาการอื่นๆ เช่น ไอ หวัด อาเจียน ไม่ซึม เล่นได้บ้าง กินนมและอาหารได้ปกติ
ก็ให้เช็ดตัวลดไข้ด้วยน้ำอุ่น กินยาพาราเซตามอล ขนาดของยาต้องให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวเด็ก
รอดูถ้าครบ 3 วันไข้ลง และมีผื่นขึ้นก็สรุปได้ว่าลูกเป็นไข้ออกผื่นธรรมดา เด็กเกือบทุกคนมักมีปัญหานี้ค่ะ
แต่ถ้าลูกมีอาการที่ไม่ปกติ คือซึม อาเจียนมาก ทำท่าจะชัก มีประวัติไข้สูงชักในครอบครัว
ควรพาไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้ ถ้าไปพบแพทย์มาแล้ว
โดยเฉพาะในรายที่แพทย์ให้กินยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกว่ายาฆ่าเชื้อ
ยาลดไข้ที่ไม่ใช่พาราเซตามอลซึ่งมักจะเป็นน้ำข้นๆ สีส้ม ขอให้หยุดยาปฏิชีวนะและยาลดไข้ดังกล่าวทันที
และกลับไปพบแพทย์คนเดิมเพื่อจะได้ทราบว่าผื่นนั้นเป็นไข้ออกผื่นธรรมดาหรือผื่นแพ้ยา
ควรจดชื่อยาและแจ้งคุณหมอด้วยว่าลูกได้รับยาอะไรจะได้ทราบว่าในอนาคตต้องหลีกเลี่ยงยาดังกล่าวนั้นหรือไม่
เป็นแล้วเป็นอีกไหมนะ
ถ้าเป็นไข้ออกผื่นที่เรียกว่า "หัดดอกกุหลาบ" แล้วครั้งหนึ่งมักจะไม่เป็นอีก
ตามประสบการณ์ของหมอยังไม่พบเป็นซ้ำ ตามทฤษฎีแล้วก็ไม่ควรเป็นซ้ำ
เนื่องจากโรคนี้เกิดจากไวรัสตัวหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วก็มักจะสร้างภูมิต้านทานไม่เป็นอีก
เช่นเดียวกับโรคหัด หัดเยอรมัน และสุกใส
หัดดอกกุหลาบเป็นโรคที่ไม่รุนแรง ไม่ค่อยมีอาการอื่นแทรกซ้อนที่รุนแรง
ไม่เหมือนโรคติดเชื้อไวรัสอื่นๆ ที่กล่าวมา โรคนี้จึงไม่มีการผลิตวัคซีนป้องกัน
คุณแม่อาจจะเคยมีลูกที่มีอาการไข้ออกผื่นซ้ำ หรือเคยเห็นเด็กอื่นๆ ที่มีไข้ออกผื่นหลายครั้ง
ปัญหาไข้ออกผื่นที่พบซ้ำนั้นมักจะเป็นไข้ออกผื่นที่เกิดจากเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ ได้
อาการไข้และการดำเนินโรคจะแตกต่างกัน ซึ่งก็จะมีกลุ่มไวรัสอื่นๆ ที่ทำให้มีไข้ออกผื่นที่ไม่รุนแรง
การดูแลก็ให้ดูแลรักษาตามอาการเช่นเดียวกันค่ะ
(update 24 เมษายน 2004)
[ ที่มา..
นิตยสารรักลูก ปีที่ 21 ฉบับที่ 242 มีนาคม 2546 ]
|